ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
สอนอย่างไรให้เกิดผลกับผู้เรียน
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีลักษณะสำคัญมากมาย มนุษย์มีรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกันผู้สอนจึงต้องใช้วิธีการ สอนที่หลากหลายหากผู้สอนนำรูปแบบการเรียนรู้แบบใดแบบหนึ่งไปใช้กับผู้เรียนทุกคนตลอดเวลาอาจทำให้ผู้เรียนบางคนเกิดอาการตายด้านทางสติปัญญาผู้เรียนควร เป็นผู้กำหนด องค์สามรู้ของตนเองไม่ใช่นำความรู้ไปใส่และให้ผู้เรียนดำเนินรอยตามผู้สอน โลกยุคใหม่ต้องการผู้เรียนซึ่งมีวินัยมีพฤติกรรมที่รู้จักยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสมไม่ ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่แบบเผด็จการ แบบให้อิสระ หรือประชาธิปัตย์ไตย เนื่องจากข้อมูลข่าวสารในยุคโลกาภิวัตน์จะเพิ่มขึ้น 2 เท่าทุกๆ 10 ปี โรงเรียนจึงต้องใช้วิธีสอนที่หลากหลายโดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในรูปแบบต่างๆให้ใช้กฎเหล็กของการศึกษาที่ว่า ระบบที่เข้มงวดจะผลิตคนที่เข้มงวด และระบบที่ยืดหยุ่นจะผลิตคนที่รู้จักคิดยืดหยุ่น
การพัฒนากรอบความคิด ที่ครอบคลุมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นั้นจำเป็นจะต้องสร้างระบบส่งเสริมเพิ่มขึ้นจาก ทักษะเฉพาะด้าน องค์ความรู้ความชำนาญการและความสามารถในการเรียนรู้ด้านต่างๆ เพื่อช่วยให้นักเรียนรอบรู้มีความสามารถที่จำเป็นและหลากหลาย เครือข่าย P21 ได้ระบุระบบส่งเสริมให้นักเรียนได้รอบรู้ทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 ได้ด้วยกัน 5 ระบบได้แก่มาตรฐานการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การประเมินผลทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การพัฒนาวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 และบรรยากาศ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1. มาตรฐาน ในศตวรรษที่ 21 มีการเน้นทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนพร้อมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจในการเรียนในเชิงสหวิทยาการระหว่างวิชาหลักที่เป็นจุดเน้นการสร้างความรู้ และความเข้าใจเชิงลึกมากกว่าการสร้างความรู้แบบผิวเผินจึงสามารถยกระดับผู้เรียนด้วยการให้ข้อมูลที่เป็นจริงการใช้สื่อหรือเครื่องมือที่มีคุณภาพจากการเรียนรู้ในสถานศึกษาและมีหลักการวัดประเมินผลที่มีคุณภาพระดับสูง
2. การประเมินทักษะในศตวรรษที่ 21 มีการสร้างความสมดุลในการประเมินเชิงคุณภาพโดยใช้แบบทดสอบมาตรฐานสำหรับการทดสอบย่อยและการทดสอบรวม โดยการนำผลที่สะท้อนมาปฏิบัติปรับปรุงแก้ไขอาจใช้การพัฒนาระบบแฟ้มสะสมงาน ของผู้เรียนให้เป็นมาตรฐานและมีคุณภาพ
3. หลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21 มี หลักการสอนเพื่อให้เกิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มุ่งเน้นเชิงสหวิทยาการของวิชาแกนหลัก มีการสร้างโอกาสที่จะประยุกต์ทักษะจึงบูรณาการข้ามสาระเนื้อหาและสร้างระบบการเรียนรู้ที่เน้นสมรรถนะเป็นฐานพร้อมทั้งสร้างนวัตกรรมและวิธีการเรียนรู้ในเชิงบูรณาการ ที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวเกื้อหนุนการเรียนรู้แบบสืบค้นและวิธีการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อการสร้างทักษะขั้นสูงขั้นการคิด
4. การพัฒนาทางวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อการสร้างครูให้เป็นผู้มีทักษะความรู้ความสามารถในเชิงบูรณาการการใช้เครื่องมือและกำหนดยุทธศาสตร์ สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนและสร้างให้ครูมีความสามารถในการวิเคราะห์และกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสม
5. สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ในศตวรรษ 21 เพื่อสร้างสรรค์แนวปฏิบัติการเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากบริบทจริงเป็นการสร้างโอกาสในการก็ถึงสื่อเทคโนโลยีเครื่องมือหรือแหล่งการเรียนรู้ที่มีคุณภาพนำไปสู่การพัฒนาและขยายผล สู่ชุมชนทั้งในรูปแบบเผชิญหน้า หรือระบบออนไลน์
การพัฒนากรอบความคิด ที่ครอบคลุมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นั้นจำเป็นจะต้องสร้างระบบส่งเสริมเพิ่มขึ้นจาก ทักษะเฉพาะด้าน องค์ความรู้ความชำนาญการและความสามารถในการเรียนรู้ด้านต่างๆ เพื่อช่วยให้นักเรียนรอบรู้มีความสามารถที่จำเป็นและหลากหลาย เครือข่าย P21 ได้ระบุระบบส่งเสริมให้นักเรียนได้รอบรู้ทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 ได้ด้วยกัน 5 ระบบได้แก่มาตรฐานการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การประเมินผลทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การพัฒนาวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 และบรรยากาศ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1. มาตรฐาน ในศตวรรษที่ 21 มีการเน้นทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนพร้อมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจในการเรียนในเชิงสหวิทยาการระหว่างวิชาหลักที่เป็นจุดเน้นการสร้างความรู้ และความเข้าใจเชิงลึกมากกว่าการสร้างความรู้แบบผิวเผินจึงสามารถยกระดับผู้เรียนด้วยการให้ข้อมูลที่เป็นจริงการใช้สื่อหรือเครื่องมือที่มีคุณภาพจากการเรียนรู้ในสถานศึกษาและมีหลักการวัดประเมินผลที่มีคุณภาพระดับสูง
2. การประเมินทักษะในศตวรรษที่ 21 มีการสร้างความสมดุลในการประเมินเชิงคุณภาพโดยใช้แบบทดสอบมาตรฐานสำหรับการทดสอบย่อยและการทดสอบรวม โดยการนำผลที่สะท้อนมาปฏิบัติปรับปรุงแก้ไขอาจใช้การพัฒนาระบบแฟ้มสะสมงาน ของผู้เรียนให้เป็นมาตรฐานและมีคุณภาพ
3. หลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21 มี หลักการสอนเพื่อให้เกิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มุ่งเน้นเชิงสหวิทยาการของวิชาแกนหลัก มีการสร้างโอกาสที่จะประยุกต์ทักษะจึงบูรณาการข้ามสาระเนื้อหาและสร้างระบบการเรียนรู้ที่เน้นสมรรถนะเป็นฐานพร้อมทั้งสร้างนวัตกรรมและวิธีการเรียนรู้ในเชิงบูรณาการ ที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวเกื้อหนุนการเรียนรู้แบบสืบค้นและวิธีการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อการสร้างทักษะขั้นสูงขั้นการคิด
4. การพัฒนาทางวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อการสร้างครูให้เป็นผู้มีทักษะความรู้ความสามารถในเชิงบูรณาการการใช้เครื่องมือและกำหนดยุทธศาสตร์ สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนและสร้างให้ครูมีความสามารถในการวิเคราะห์และกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสม
5. สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ในศตวรรษ 21 เพื่อสร้างสรรค์แนวปฏิบัติการเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากบริบทจริงเป็นการสร้างโอกาสในการก็ถึงสื่อเทคโนโลยีเครื่องมือหรือแหล่งการเรียนรู้ที่มีคุณภาพนำไปสู่การพัฒนาและขยายผล สู่ชุมชนทั้งในรูปแบบเผชิญหน้า หรือระบบออนไลน์
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องมีการจัดการเรียนรู้ที่มีความสัมพันธ์มีขั้นตอนและกระบวนการที่เป็นลำดับที่ผู้เรียนสามารถมีส่วนร่วมกับการเรียนการสอนได้เช่นการกำหนดปัญหาที่ผู้เรียนสนใจการทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อให้ ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์และสามารถบูรณาการกับรายวิชาอื่นๆได้ด้วยตนเองและการสอนที่ถือว่ามีประสิทธิภาพครูต้องมีคุณสมบัติมากกว่าการเป็นผู้ทำหน้าที่สอนครูต้องมีลักษณะที่สามารถชี้แนะการเรียนรู้และสามารถทำหน้าที่เป็นผู้นำนักเรียนท่องเที่ยวไปสู่โลกแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีมีมากมายครูสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนในด้านต่างๆเช่นการใช้วีดีทัศน์ จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้นโดยเฉพาะเนื้อหาที่เป็นนามธรรมการใช้วีดีทัศน์มีทั้ง ภาพยนต์ แอนิเมชั่น หรือโปรแกรมต่างๆถือได้ว่ามีความสำคัญต่อผู้เรียนและเป็นการเรียนรู้ที่มีความหมายสำหรับผู้เรียน
ในสมัยนี้ถือได้ว่าการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้และมีความสำคัญต่อการเรียนรู้อย่างมากทั้งอินเตอร์เน็ตหรือเทคโนโลยีการสื่อสารต่างๆก็เป็นส่วนหนึ่งการเรียนรู้ ครู แห่งศตวรรษที่ 21 จึงต้องมีความทันสมัยและก้าวทันยุค เนื่องจากโลกเปลี่ยน สังคมเปลี่ยนทำให้เด็กเรียนเด็กสมัยนี้ไม่ได้เรียนรู้และข้อมูลสำคัญเฉพาะการเรียนรู้ในโรงเรียนอีกต่อไปแต่ผู้เรียนสมัยนี้มีความรู้ จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆที่มีความทันสมัยและรองรับความสนใจของผู้เรียนเป็นอย่างดีแต่บางครั้งการเรียนรู้ในอินเตอร์เน็ตไม่ใช่ดีเสมอไปครูจึงจำเป็นต้องให้ความสนใจแก่ผู้เรียน ครูเป็นเพียงผู้ช่วยหรือคุณอำนวยการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ไปพร้อมๆกัน
นางสาวอารีรัตน์ แก้วล่องลอย
5706510056 TH257
ผู้สรุป
อ้างอิง
โดย โชติมาพร ไชยสิทธิ์
นิสิตปริญญาเอก รุ่น 5 สาขาหลักสูตรและการสอน
https://drive.google.com/file/d/0B6bhjP--r6NdQW40elRCUUU5d2s/view